FirstChoice > Lifestyle > KYC ยืนยันตัวจริงก่อนทำธุรกรรม ช่วยลดโจรกรรมการเงินบนโลกไซเบอร์

KYC ยืนยันตัวจริงก่อนทำธุรกรรม ช่วยลดโจรกรรมการเงินบนโลกไซเบอร์

CashFinance

1 ส.ค. 2024

1 นาที

KYC ยืนยันตัวจริงก่อนทำธุรกรรม ช่วยลดโจรกรรมการเงินบนโลกไซเบอร์

CashFinance

1 ส.ค. 2024

1 นาที

“ซุนวู” กล่าวว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” แต่ KYC ยิ่งรู้จักลูกค้าดี ระบบการเงินยิ่งปลอดภัย!! KYC หรือ Know Your Customer แปลความหมายง่าย ๆ ก็คือ การที่ผู้ให้บริการทำความรู้จักลูกค้าผ่านการระบุตัวตน (Identification) และพิสูจน์ตัวตน (Verification) อย่างถูกต้อง ว่านี่แหละตัวจริงไม่ใช่ตัวปลอม

การยืนยันตัวตน KYC เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถใช้ยืนยันตัวตนกับแอพทางรัฐ หรือหน่วยงานต่างๆ จากองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่ช่วยในการป้องกันการฉ้อโกงและการปลอมแปลงข้อมูลออนไลน์

เพื่อป้องกันการแอบอ้างตัวตน การโจรกรรมการเงิน ต่าง ๆ เช่น การเปิดบัญชีปลอม การแอบอ้างทำบัตรเครดิต การติดสินบน หรือการฟอกเงินได้ รวมไปถึงการเพื่อมอบบริการและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เช่น กรมธรรม์ประกันชีวิต ให้กับผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงได้อย่างครบถ้วนและถูกต้อง โดยระบบ KYC จะสร้างความปลอดภัยทั้งต่อเจ้าของข้อมูลและบริษัทผู้ให้บริการ เพราะหาก KYC ไม่รัดกุมพอ ความน่าเชื่อถือของธนาคารก็น้อยลงเช่นกัน

KYC ยืนยันตัวจริงก่อนทำธุรกรรม ช่วยลดโจรกรรมการเงินบนโลกไซเบอร์

ซึ่ง KYC ทำได้ทั้งผ่านระบบออฟไลน์ ก็คือการที่ลูกค้าต้องเดินทางไปทำธุรกรรม ยืนยันยื่นข้อมูลแสดงตัวตนพื้นฐานที่ธนาคารหรือสาขาที่ให้บริการ โดยเจ้าหน้าที่จะเทียบระหว่างรูปในหน้าบัตรกับหน้าตัวจริงของเรา หรือสามารถทำทางระบบออนไลน์ที่เรียกว่า E-KYC ย่อมาจาก Electronic Know Your Customer ที่เป็นระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ด้วยการเก็บข้อมูลที่ระบุอัตลักษณ์ของแต่ละบุคคล นำมาเชื่อมต่อกับข้อมูลของธนาคาร หรือผู้ให้บริการทางการเงิน เพื่อเพิ่มมาตรฐานการพิสูจน์และการยืนยันตัวตน ให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น และยังสะดวกมากกว่า ลดการเดินทาง ลดการสัมผัส โดยธนาคารหรือสถาบันการเงิน ต้องตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ของลูกค้าทุกครั้ง และอัปเดตให้เป็นปัจจุบันเสมอ

KYC ยืนยันตัวจริงก่อนทำธุรกรรม ช่วยลดโจรกรรมการเงินบนโลกไซเบอร์

ลึกลงไปอีก หลังจากทำ KYC จะมีระบบตรวจสอบตัวตนอีกระดับเรียกว่า CDD หรือ Customer Due Diligence คือการตรวจสอบข้อมูลขั้นกว่า เช่น ตรวจสอบประวัติธุรกรรมทางการเงิน ประวัติการคอรัปชัน หรือเกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้มีประวัติการฟอกเงิน หรือไม่ ทั้งนี้ก็เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงของลูกค้า พร้อมกับประเมินความเสี่ยงก่อนผู้ให้บริการทางการเงินจะอนุมัติให้ทำธุรกรรมใด ๆ เพื่อความปลอดภัยของลูกค้าและระบบการเงินโดยรวม จากมิจฉาชีพนั่นเองครับ

 

การยืนยันตัวตน E-KYC เพื่อใช้ในการลงทะเบียนกับแอปทางรัฐ

ซึ่งการยืนยันตัวตน E-KYC เพื่อใช้ในการลงทะเบียนกับแอปทางรัฐ สามารถทำได้ง่ายๆ โดยผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้
สามารถยืนยันตัวตนและลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ ผ่านแอปทางรัฐ ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม - 15 กันยายน 2567

1. ตู้บริการอเนกประสงค์ภาครัฐ
โดยจะต้องเตรียมบัตรประชาชนและโทรศัพท์มือถือเพื่อดำเนินการยืนยันตัวตน เมื่อได้ยืนยันตัวตนตามขั้นตอนที่แจ้งผ่านตู้แล้ว จะได้รับ QR Code เพื่อสแกนใช้งานแอปพลิเคชันทางรัฐ ถือว่าการยืนยันเสร็จเรียบร้อย

ค้นหาตู้บริการเอนกประสงค์ใกล้บ้านที่ตั้งอยู่ทั่วประเทศได้ทางนี้
https://www.dga.or.th/our-services/one-stop-service/dga-kiosk/map/

2. แอปพลิเคชัน ThaID
แอปพลิเคชันจากกรมการปกครอง สำหรับพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล สามารถจองคิวใช้บริการกับทางภาครัฐอย่างสำนักทะเบียนอำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นทั่วประเทศได้อีกด้วย เมื่อมีการลงทะเบียนใช้บริการกับทางแอป ThaID ก็จะสามารถลงทะเบียน “ทางรัฐ” ด้วยการกดที่ปุ่ม “เข้าสู่ระบบด้วย ThaID” ได้เลย 

ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน ThaID
สำหรับ Android: https://play.google.com/store/apps/details?id=th.go.dopa.bora.dims.ddopa&hl=th&pli=1
สำหรับ IOS: https://apps.apple.com/th/app/thaid/id1533612248

3. ตู้บุญเติม
เพียงแค่เตรียมบัตรประชาชนและโทรศัพท์มือถือ จากนั้นเลือกเมนู “ทางรัฐ” บนหน้าจอ ตู้ก็จะแนะนำให้เสียบบัตรประชาชนเพื่อยืนยันตัวตน และระบบจะส่ง SMS เพื่อดำเนินการต่อในแอปพลิเคชันทางรัฐได้ทันที สำหรับตู้บุญเติมได้มีการเปิดให้บริการกว่า 2,000 จุดทั่วประเทศ ตลอด 24 ชั่วโมง โดยให้สังเกตตู้บุญเติมที่มีกล้องเล็กๆ ติดอยู่ที่ด้านบนของตู้ จะมีให้บริการยืนยันตัวตน e-KYC 

4. ไปรษณีย์ไทยทุกสาขา
เตรียมบัตรประชาชนและโทรศัพท์มือถือ และแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เคาน์เตอร์ว่าต้องการยืนยันตัวตันแอปพลิเคชันทางรัฐ หลังจากนั้นจะได้รับ SMS ที่ส่งลิงก์เพื่อให้ดำเนินการต่อทางแอป เพียงเท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อย สามารถยืนยันตัวตนได้ที่ไปรษณีย์ทุกสาขาใกล้บ้านคุณ

5. เคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-Eleven
เพียงกดที่เมนู “ยืนยันตัวตนที่ 7-Eleven” ระบบจะให้เราระบุเลขบัตรประชาชน และ หมายเลขโทรศัพท์ เพื่อสร้าง QR Code และแจ้งกับพนักงานที่สาขาว่าต้องการยืนยันตัวตนแอป “ทางรัฐ” พนักงานก็จะสแกน QR Code ซึ่งระบบจะส่ง SMS เพื่อให้เรายืนยันตัวตนผ่านทางแอป “ทางรัฐ” เท่านี้การยืนยันตัวตนก็เสร็จเรียบร้อย

KYC เป็นระบบสำคัญในยุคปัจจุบันที่ช่วยลดการทำผิดและการโจรกรรมทางการเงินได้ แต่ไม่ใช่ว่าทุกองค์กรที่ผู้บริโภคยินดีให้ทำ KYC จะปลอดภัยนะครับ อย่าลืมตรวจสอบให้มั่นใจว่าเป็นองค์กรที่ผ่านการรับรองและน่าเชื่อถือ เพื่อปกป้องข้อมูลของคุณเองนะครับ
 

บัตรเครดิต : ใช้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้เต็มจำนวนตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 16% ต่อปี
สินเชื่อส่วนบุคคล : อัตราดอกเบี้ยปกติ 25% ต่อปี, กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้ตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 3% - 25% ต่อปี

 

ใหม่! สมัครบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด กรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ ผ่าน UCARD บนแอป UCHOOSE

ผ่านบริการยืนยันตัวตนรูปแบบดิจิทัล (NDID) หรือ Krungsri i-Confirm

 

ใหม่! บริการยืนยันตัวตนดิจิทัล (NDID) และยืนยันตัวตนผ่าน Krungsri i-CONFIRM สมัครบัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ ออนไลน์ ง่ายกว่าเดิม ผ่าน UCARD บนแอป UCHOOSE เรียนรู้เพิ่มเติม

 


สมัครบัตรเครดิตเฟิร์สช้อยส์ได้ที่นี่

สมัครบัตรทันที

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

สาขาเฟิร์สช้อยส์

ค้นหาสาขาใกล้บ้านคุณ

บลูพลัส & บลูเมมเบอร์

ข้อมูลที่ควรทราบและคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์
พริวิเลจ บลูพลัส & บลูเมมเบอร์