FirstChoice > Lifestyle > 4 เทคนิคสุดปัง ลดหย่อนภาษีได้ตังค์คืนแบบคุ้ม

4 เทคนิคสุดปัง ลดหย่อนภาษีได้ตังค์คืนแบบคุ้ม

CashFinance

18 ธ.ค. 2020

1 นาที

4 เทคนิคสุดปัง ลดหย่อนภาษีได้ตังค์คืนแบบคุ้ม

CashFinance

18 ธ.ค. 2020

1 นาที

โค้งสุดท้ายของผู้มีรายได้ ที่ต้องเตรียมตัว พร้อม ๆ ไปกับการเตรียมใจ เพื่อยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2563 หากคุณเป็นพนักงานประจำ เพียงแค่รอรับใบทวิจากบริษัทที่ทำงานอยู่ เพื่อนำมายื่นภาษีออนไลน์ได้ด้วยตัวเอง แต่หากคุณเป็นฟรีแลนซ์ให้รวบรวมรายการใบหักภาษี ณ ที่จ่ายของแต่ละบริษัทที่คุณทำงานให้ เพื่อนำมายื่นภาษี จากนั้นมาดู 4 เทคนิคสุดปัง ที่จะช่วยให้คุณใช้สิทธิลดหย่อนภาษีแบบคุ้ม ๆ แบบมีเงินคืนให้เหลือเก็บ
 

Tips-Tax-2020-2.png

 

1. ใช้ ช้อป ชิม เก็บบิลให้ครบเอามาลดได้

ไปช้อป ไปใช้ ไปกิน ให้ขอใบเสร็จเต็มรูปแบบจากร้านค้าไว้ก่อนทุกครั้ง ถ้าเป็นไปได้ เพราะช่วงปลายปีแบบนี้ รัฐบาลจะมีแคมเปญกระตุ้นเศรษฐกิจ ปีนี้คือ “ช้อปดีมีคืน” สามารถลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท โดยนำใบเสร็จใช้ลดหย่อนภาษีได้เหมือนกับทุกปี ภายใต้เงื่อนไขต้องซื้อสินค้าระหว่างวันที่ 23 ตุลาคม ถึง 31 ธันวาคม 63 ได้แก่ สินค้าและบริการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม มีการออกใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบได้ รวมถึงหนังสือ สิ่งพิมพ์ E-book ที่มีการออกใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบหรือใบเสร็จรับเงิน สินค้า OTOP ที่มีใบเสร็จรับเงิน หรือใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ

แต่หากคุณเป็นสายบุญ ชอบบริจาค ชอบให้ทาน จะเป็นการบริจาคเพื่อการศึกษา หรือบริจาคให้กับองค์กรการกุศลต่าง ๆ เงินบริจาคเหล่านี้ ก็สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน อยู่ที่ไม่เกิน 10%            

อยากจัดให้คุ้มสุดๆ ลดหย่อนภาษี แถมมีเหลือ ก็ต้องใช้บัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ที่มีโปรโมชั่น ช้อปดีมี(เงิน)คืน ผ่อน 0% พร้อมรับเครดิตเงินคืนเพิ่ม 300 บาท* เมื่อผ่อนชำระสินค้าหรือบริการตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป* สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ ช้อปดีมี(เงิน)คืน

 

2. ได้ทั้งออมเงิน ได้ทั้งลดหย่อนภาษี

สำหรับสายออมกับการลดหย่อนภาษีแล้ว ต้องเข้าหมวดลดหย่อนภาษีกลุ่มประกันชีวิตและการลงทุน ความพิเศษของปีนี้ คือ มีกองทุน SSFX หรือกองทุนรวมเพื่อการออมแบบพิเศษ (Super Saving Fund Extra) ที่เปิดขายระหว่าง 1 เมษายน - 30 มิถุนายน 2563 ใช้ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท นอกนั้นก็เป็นกองทุนเหมือนทุก ๆ ปี คือ

  • กองทุนรวม SSF (Super Savings Fund) กองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว ซื้อได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปี และไม่เกิน 200,000 บาท
  • กองทุนรวม RMF ลงทุนในหลักทรัพทย์ ซื้อได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปีและไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ
  • เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ และไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนการออมแห่งชาติ เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 13,200 บาท


ส่วนสายรักสุขภาพที่ทำประกันต่าง ๆ ไว้ ก็นำมาลดหย่อนภาษีได้ ดังนี้

  • ประกันชีวิตทั่วไป ใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
  • ประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุด 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
  • ประกันสุขภาพ ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท
  • เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท

 

3. คนโสดคนมีคู่ ดูให้ดีมีให้ลดหย่อน

ไม่ว่าคุณจะเป็นคนโสด หรือเป็นคนมีคู่ ก็มีสิทธิได้ลดหย่อนภาษีตามแต่ละเงื่อนไขทั้งสิ้น ไปเช็คดูสักนิด ว่าปีนี้เราเข้ากับสิทธิไหนได้บ้าง

สำหรับคนโสด

  • ค่าลดหย่อนส่วนบุคคล 60,000 บาท ลดหย่อนได้ทันทีที่ยื่นภาษี

สำหรับคนมีคู่

  • ค่าลดหย่อนจากคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ 60,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนบุตร 30,000 บาท ไม่จำกัดจำนวนบุตร
  • ค่าฝากครรภ์ และค่าคลอดบุตร หักได้ตามจริง แต่ไม่เกินปีละ 60,000 บาท

สำหรับครอบครัว

  • ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดา-มารดา คนละ 30,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนอสังหาริมทรัพย์ ดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อการมีที่อยู่อาศัย ลดได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท และซื้อบ้านหลังแรกปี 2559 ได้ไม่เกิน 20% ของราคาอสังหาริมทรัพย์ ปีละ 4% เป็นเวลา 5 ปี

 

4. อะไรเพิ่ม อะไรลด เช็คให้ครบก่อนค่อยยื่น

ปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในส่วนของเงื่อนไขการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี เนื่องจากผลกระทบจากโควิดและเศรษฐกิจ ทำให้มีการปรับลดการหักเงินประกันสังคม ตามปกติเงินลดหย่อนประกันสังคมจะอยู่ที่ 9,000 บาท แต่ในปีนี้ประกันสังคม จะเหลือ 5,850 บาท เนื่องจากรัฐบาลได้มีการปรับลดอัตราหักเงินประกันสังคม 2 รอบในปีนี้ รอบแรกในเดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม หัก 1% รอบสองในเดือนกันยายน ถึงพฤศจิกายน หัก 2% การได้สิทธิลดหย่อนจึงลดลงไปด้วย

บัตรเครดิต : ใช้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้เต็มจำนวนตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 16% ต่อปี
สินเชื่อส่วนบุคคล : กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้ตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 3% - 25% ต่อปี

 


สมัครบัตรเครดิตเฟิร์สช้อยส์ได้ที่นี่

สมัครบัตรทันที

 

โปรโมชั่นที่เกี่ยวข้อง

#เป็นตัวเองได้อย่างเต็มที่กับทุกไลฟ์สไตล์ที่ใช่
รูดบัตรเครดิตช้อปรับแคชแบ็คสุดปัง
สูงสุด 5%*

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

สาขาเฟิร์สช้อยส์

ค้นหาสาขาใกล้บ้านคุณ

บลูพลัส & บลูเมมเบอร์

ข้อมูลที่ควรทราบและคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์
พริวิเลจ บลูพลัส & บลูเมมเบอร์